13 March – 4 April 1999
Saranrom Park, Bangkok, Thailand
Second International Women’s Art Exchange
ภาษาไทยโปรดเลื่อนอ่านด้านล่าง | For Thai version, please scroll down.
In 1995 a group of six Thai female artists met in Bangkok: Mink Noparat (the catalyst), Jittima Pholsawek(Ukabat group), Phaptawan Suwannakudt (art mural painter), Khaisaeng Phanyawatchira (performance artist), Charassri Roopkamdee (print-maker) and Nitaya Ueareeworakul (artist). The result of the meeting was a painting,installation and performance event called “Tradisexion”, emphasising traditional conflicts stemming from being a woman. It was held at Concrete House (founded by Chumpol Apisuk), celebrating World Women’s Day (March 8th). The feed back was good, but the event had too small an impact as only artists attended: That was thestarting point of the first and second Womanifesto.
Studio Xang has always been the unofficial centre for art net-working and a meeting place for artists in Bangkok. The six artists continued to meet regularly at Studio Xang and eventually realised their olan for Womanifesto I. Baan Chao Phraya (Chaiyong Limtongkul Foundation) and Concrete House, offered their premises. Thanks to the kind collaboration of Varsha Nair, an Indian artist, residing in Bangkok and Professor Somporn Rodboon of Silapakorn University, ‘!’Ie were able to invite eighteen participating ‘sts: Nine from Thailand and the remainder from Japan, Indonesia, India, Singapore, Pakistan, Austria,. –Iy and USA. Their work comprised: paintings, ceramic art, VDO-art, installation and perform1nce art. as highly successful in many ways particularly in establishing international networking among women artists.
We co-founded Studio Xang and have always believed that art should be a medium to raise ic awareness of social issues. This combined with the outcome of Womanfesto I, was the driving ‘ce behind the second Womanfesto, an international women’s art-in-the-park project in Bangkok.
In 1998, Dr. Kraisak Choonhavan, advisor to the Governor of Bangkok and an artist himself, eventually pushed the project through. It cannot be forgotten that our present Governor Dr.Bichit Rattaku is the first governor to truly care for the quality of life of Bangkok people and is also a great lover of art. The organisers were proud to jOin the BMA in celebrating His Majesty the King’s 72nd Birthday (5th December 1999). The BMA’s sponsorship enabled us to invite 32 artists from 13 countries to work together in the Saranrom Park for the Womanifesto II.
Womanifesto II had the objective to use Bangkok as a place for Thai & international artists to meet, exchange experience and present their art works with the freedom to express themselves culturally, politically and socially. This objective was fulfilled. Moreover Thai and foreign artists were delighted that the Bangkok Governor showed enormous interest. This was a great help in boosting awareness of public ar and the status of women artists in Thailand and other countries. The success of this event has led to the planning of a women artists archives centre which will be the first in South East Asia.
We hope that other women will come forward to plan Womanifesto III in the next two years.
Pantini Chamnianwai and Nitaya Ueareeworakul
Studio Xang
February 1997
Coordinators, Facilitators, and Contributors
-
Organizational Partners
Studio Xang , Empower Foundation, and Hers Group
-
Text Contributors
Studio Xang (Thailand), and the Artists
-
Graphic Design, Catalogue Design, and Conception
lttirith Advertising & Printing Co.,Ltd.
-
Photography
Mongkol Plienbangchang and Kornkrit Jianpinidnan
-
Videography
Surapol Panyawatchira
-
Translation
Pantini Chamnianwai
-
Proofreading and Editing
David Deveraux
-
Funded by:
Bangkok Metropolitan Administration and Bangkok Art and Culture Centre
13 มีนาคม - 4 เมษายน พ.ศ. 2542
เป็นนิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติ ถือกำเนิดจากการริเริ่มและดำเนินการโดยกลุ่มศิลปินหญิงไทยหกคนคือ จิตติมา ผลเสวก, มิ้งค์ นพรัตน์, นิตยา เอื้ออารวรกุล, ภาพตะวัน สุวรรณกูฎ, ไขแสง ปัญญาวชิระ, และจรัสศรี รูปขำดี ได้ร่วมกันจัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 ภายใต้หัวข้อเรื่อง TRADISEXION หรือ ประเวณี-ประเพณี ณ ศูนย์บ้านตึก นนทบุรีของคุณจุมพล อภิสุข เพื่อเป็นการขานรับวันสตรีสากล คือวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ผลปรากฎว่าเป็นที่สนใจในหมู่ศิลปินและผู้เข้าชมแต่ยังอยู่ในวงแคบ จึงทำให้เกิดความคิดร่วมกันว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น จะหยุดเพียงนั้นคงไม่ได้ หากจะได้จัดนิทรรศการลักษณะนี้อีกเพื่อแพร่หลายไปในวงกว้างขึ้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะการนำเสนอประเด็นสังคม โดยใช้งานศิลปะแขนงต่างๆ เป็นสื่อ เพื่อที่จะได้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงสิทธิสตรี อีกทั้งเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป ให้ได้คุ้นเคยกับศิลปะในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น
สตูดิโอช้าง (กลุ่มศิลปินอิสระ และผู้สอนศิลปะเด็ก) ได้กลายเป็นศูนย์กลางการติดต่อและนัดหมายของหมู่ศิลปินในกรุงเทพฯแห่งหนึ่ง ซึ่งคอยรับข่าวสารเชื่อมโยงระหว่างศิลปินทั้งไทยและต่างชาติเสมอมา ได้รับความร่วมมือจากคุณวาร์ชา แนร์ ศิลปินชาวอินเดียที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ร่วมกันจัดนิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติขึ้นที่หอศิลป์บ้านเจ้าพระยา (มูลนิธิไชยย้ง ลิ้มทองกุล) และที่ศูนย์บ้านตึก อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์สมพร รอดบุญ มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมเป็นที่ปรึกษา ได้เชิญศิลปินหญิงเข้าโครงการ 18 คน จาก 9 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ปากีสถาน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และประเทสไทย ประกอบด้วยต่างประเทศ 9 คน และคนไทย 9 คน นิทรรศการครั้งนั้นมีการนำเสนองานจิตรกรรม เซรามิค วีดีโอทัศน์ ศิลปจัดวาง และสื่อแสดงสด
ในปี พ.ศ. 2541 คุณพันธินีย์ จำเนียรไวย ผู้ก่อตั้งสตูดิโอช้าง ซึ้งแม้จะเป็นบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ แต่ได้ให้ความสนใจและเคลื่อนไหวในกิจกรรมทางศิลปะเสมอมา ได้ร่วมกับคุณนิตยา เอื้ออารีวรกุลผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม มีทัศนะว่าศิลปะน่าจะเป็นสื่อในการเสนอประเด็นสังคมในยุคปัจจุบันในรูปแบบต่างๆ ได้เป็ฯอย่างดี และควรใช้ในการส่งเสริมสำนึกที่ดีทางสังคมในหมู่ประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสำนึกที่ดีทางสังคมในหมู่ประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิลปินโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปินหญิงยุคปัจจุบันของภูมิภาคนี้และสากลโลก
ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้สนับสนุนและผลักดันให้โครงการนี้ให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด แม้จะใช้เวลาอนุมัติถึง 1 ปี ทั้งนี้ทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ ดร.พิจิตต รัตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนสำคัญ ที่ได้ให้ความสนใจต่อคุณภาพชีวิตของคนในเมืองหลวง และเป็นบุคคลแรกที่ได้ให้ความสนใจต่อศิลปะอย่างจริงใจ
WOMANIFESTO II นอกจากจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ในอันที่จะให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นสถานที่นัดพบทางศิลปะระหว่างศิลปินไทยและต่างชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางศิลปะอย่างเสรี เพื่อสื่อความหมายทางวัฒนธรรม การเมืองและสังคมแล้วทางสำนักสวัสดิการสังคมได้ถือให้เป็นโครงการสำคัญเพื่อร่วมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 60 รอบ 5 ธันวาคม 2542
ดังนั้นนิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปินหญิงนานาชาติครั้งที่ 2 “WOMANIFESTO II” จึงได้เกิดขึ้นในสวนสาธารณะอันเก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร ด้วยความอนุเคราะห์ของสำนักสวัสดิการสังคม, มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง EMPOWER ทำให้เราสามารถเชิญศิลปินเข้าร่วมโครงการ 32 คน จาก 13 ประเทศ ในรูปแบบของงานนิทรรศการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยศิลปินเข้าไปทำงานในพื้นที่ร่วมด้วยการแลกเปลี่ยนสไลด์ – วีดีโอผลงาน และในช่วงสุดท้ายได้ร่วมสรุปงานและหารือแนวทางในการจัดตั้งศูนย์ ข้อมูลศิลปินหญิง ขึ้นในประเทศไทย
ทั้งศิลปินไทยและต่างชาติได้ประจักษ์แล้วว่า นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปินหญิงนานาชาติ ครั้งที่ 2 (WOMANIFESTO II) ที่ผ่านมานี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีต่อสถานภาพสตรีที่ยังชีพด้วยการทำงานศิลปะ หากผู้ใหญ่ของรัฐ ของประเทศ จะให้ความสำคัญต่อศิลปะอย่างแท้จริงเฉกเช่นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน เหล่าศิลปินให้คำมั่นว่า จะเป็นแกนนำจัดงานนิทรรศการเช่นนี้ขึ้นให้อีกในปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544 )
พันธินีย์ จำเนียรไวย และ นิตยา เอื้ออารีวรกุล
สตูดิโอช้าง
มิถุนายน 2542
-
พันธมิตรองค์กร
สตูดิโอช้าง, มูลนิธิ เอ็มพาวเวอร์, และ เฮอร์ส กรุ๊ป
-
ผู้มีส่วนร่วมในการเขียน
สตูดิโอช้าง และ ตัวศิลปินเอง
-
งานออกแบบกราฟิคและการวางแนวคิดของแคตตาล็อก:
บริษัท อิทธิฤทธิ์ โฆษณาและการพิมพ์ จำกัด
-
งานถ่ายภาพ:
มงคล เปลี่ยนบางช้าง และ กรกฤช เจียรพินิจนันท์
-
งานถ่ายทำวีดีโอ
สุรพล ปัญญาวชิระ
-
งานแปล
พันธินีย์ จำเนียรไวย
-
งานตรวจและแก้ไขภาษาอังกฤษ
เดวิด เดอเวอโรซ์
-
สนับสนุนโดย
กรุงเทพมหานคร และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร