Makers/Makings/Musings
ภาษาไทยโปรดเลื่อนอ่านด้านล่าง | For Thai version, please scroll down.
Began in 1997, Womanifesto has brought together exhibitions, workshop and artist-in-residence programs with the aim to establish exchanges with artists, peers and colleagues and open up new connections with community groups, fulfilling Womanifesto’s aim to strengthen cultural relations with artists internationally and engage local communities while promoting new and emerging forms of artistic expressions. The project also focuses on linking practitioners from Thailand with those from the region and elsewhere with special attempts made to bring artists together, to highlight our shared cultures and establish fresh exchanges.
A residency program was established in 2008 with the aim of continuing the on-going dialogue with a particular site and community first started at Womanifesto Workshop 2001, the program is held in a unique environment and location, where diverse visions and life efforts of the elders and a younger generation of people have come together to ensure continuity of a way of life that has and continues to include engaging various art forms. In the program, also established are workshops that involve students from local schools, occupational colleges and University Art Schools that are rarely exposed to this form of art and culture discourse, along with bringing into focus the diversity of the richness of the cultural ways of the local community itself that includes Lao, Khmer, Suay, and Yeau people.
Focusing on the position of women and the wealth of stored knowledge, equally shared amongst men, women and children in rural areas that has been handed down from generation to generation, the emphasis is on engaging with artisans and exploring local materials and a traditional way of life.
Chronology of Womanifesto Events and Projects
-
1997: Womanifesto
Exhibitions at Concrete House and Baan Chao Phraya Gallery, Bangkok.
Organised by Nitaya Ueareeworakul and Varsha Nair. Advisors: Somporn Rodboon and Ark Fongsmut.
Catalogue Partially funded by Japan Foundation. -
1999: Womanifesto II
Exhibition at Saranrom Park, Bangkok. Organised by Ueareeworakul, Pantini Chamnianwai and Studio Xang.
Catalogue and Video documentation. Funded by Bangkok Metropolitan Authority. -
2001: Womanifesto Workshop
Community-based workshop at Boon Bandarn Farm, Kantharaluk, Si Saket, Northeast Thailand.
Organised by Varsha Nair, Nitaya Ueareeworakul, Preenun Nana, and Naomi Urabe.
Catalogue and Video documentation. Funded by Heinrich Boell Foundation -
2003: Procreation/Postcreation
Limited edition publication.
Organised by Varsha Nair and Preenun Nana. Funded by The Rockefeller Foundation -
2005/2006: No Man’s Land
Web project. Organised by Varsha Nair and Kathrine Olston. Adviser: Keiko Sei. Funded by Heinrich Boell Foundation
-
2008: Womanifesto Residency Program
Artist-in-residence program on Boon Bandarn Farm, Si Saket province, Northeast Thailand. Organised by Nitaya Ueareeworakul, Phaptawan Suwannakudt and Varsha Nair. Funded by Office of Contemporary Art, Ministry of Culture of Thailand.
-
2018: Work Begins on Sorting, Digitising and Exhibiting the Archive
-
2019: Womanifesto Archive
Exhibition at Chulalongkorn University’s CommDe space for the symposium: Gender in Southeast Asian Art Histories II.
Organized by: Yvonne Low, Roger Nelson, Clare Veal, and Juthamas Tangsantikul -
2019: Archiving Womanifesto
Exhibition at Cross Arts Project, Sydney for the Symposium: Art, Digitality and Canon-making? Gender in Southeast Asian Art Histories, at Sydney University. Organized by: Yvonne Low, Roger Nelson, and Clare Veal.
https://www.crossart.com.au/exhibition-archive/archiving-womanifesto-an-international-art-exchange-1990s-present-curators-varsha-nair-nitaya-ueareeworakul-phaptawan-suwannakudt-19-october-to-16-november-2019/ -
2019/2020: Archive Digitized by Asia Art Archive
For Their Research Collection, Hong Kong. https://aaa.org.hk/en/collections/search/library/womanifesto-an-international-womens-art-exchange-exhibition.
-
2020: Crafting Communities
Exhibition at Asia Art Archive. Curated by: John Tain
-
2020: WOMANIFESTO 2020: GATHERINGS
Gatherings in various locations during lockdown.
-
2020: Repetition as a Gesture Towards Deep Listening
The first Trans-Southeast Asia Triennale exhibition at Art Museum Guangzhou. Curated by Biljana Ciric
-
2021: Womanifesto joins Lasuemo
An online gathering on last Sunday each month established by Varsha Nair, *durbahn and Lena Eriksson.
-
2021/2022: The Ignorant Art School Sit-in #2
Exhibition at Cooper Gallery, University of Dundee and at Hatton Gallery, Newcastle University, UK.
Curated by Sophia Hao -
2023: Baan Womanifesto
Set up in Kamphawapi, Udonthani. First workshop organized by Nitaya Ueareeworakul.
-
2023: Womanifesto Way
Exhibition at 4A Centre for Contemporary Asian Art
-
2023: Womanifesto: Flowing Connections
Exhibition at Bangkok Art and Culture Centre.
Forthcoming:
-
2024: The Ignorant Art School Sit-in #4
At the Cooper Gallery, University of Dundee, Scotland.
-
2024: Lahore Biennale 3
More Information Please Visit.
https://www.lahorebiennale.org/programmes/the-lahore-biennale-03-opening-october-5-2024/
"Don't Step on the Flowers", 1999 Womanifesto II
นิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติ
นิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติ (Womanifesto) เป็นงานกิจกรรมศิลปะที่จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี เกิดขึ้นจากการริเริ่มของกลุ่มศิลปิน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมงานศิลปะของศิลปินหญิงจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เครือข่ายของศิลปินหญิงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคงโดยผ่านการติดต่อในแบบส่วนตัว ฉันท์เพื่อนเป็นหลัก การรวมตัวครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2538 ในงานนิทรรศการ “ประเวณี-ประเพณี” (Tradisexion) ที่ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดการพบปะ และการสร้างเครือข่ายขึ้น ทำให้ผู้ที่มาร่วมแสดงงานในครั้งนั้นตัดสินใจที่จะสานต่อเครือข่าย และสร้างกิจกรรมในระดับนานาชาติ งาน นิทรรศการศิลปินหญิงนานาชาติ
(Womanifesto) ในครั้งแรกจึงเกิดขึ้น ในปีพ.ศ. 2540 โดยมีการแสดงนิทรรศการผลงานทางศิลปะของศิลปินหญิง 18 คน จากประเทศ อินโดนีเชีย อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย อิตาลี ปากีสถาน และประเทศไทย การจัดงานในครั้งนี้ได้รับการกล่าวถึงในสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิด มิติใหม่ของแวดวงศิลปะร่วมสมัยของผู้หญิงโดยเฉพาะในแถบเอเชีย ให้ก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้า
งานแลกเปลี่ยนศิลปินหญิงนานาชาติ ครั้งที่ 2 (Womanifesto II) จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ณ สวนสาธารณะวังสราญรมย์ เป็นการพบกันระหว่างศิลปินหญิงจากไทยและนานาชาติในวงที่กว้างขึ้น นับเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งที่นำไปสู่ความร่วมมืออันดีในโอกาสต่อไป และเนื่องจากงานครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ทำให้กรุงเทพฯเป็นสถานที่พบปะทางศิลปะที่สำคัญ งานนี้จึงได้รับการสนับสนุนทั้งหมดจากเมืองกรุงเทพมหานครฯ
จากกิจกรรมศิลปะอันหลากหลายนี้เอง โครงการศิลปินหญิงนานาชาติ Womanifesto จึงได้พัฒนาเครือข่ายอันเหนียวแน่นระหว่างศิลปินและผู้เข้าร่วม และเกิดการสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในชุมชนเมืองและท้องถิ่นขึ้น เช่นในครั้งล่าสุดโครงการ เวิร์คช็อปศิลปินหญิงนานาชาติ (Womanifesto Workshop 2001) ได้จัดในลักษณะของเวิร์คช็อปกับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการเข้าร่วมโครงการร่วมกันระหว่างศิลปินหญิงนานาชาติ นักจัดการงานวัฒนธรรม ช่างหัตกรรมท้องถิ่น จัดขึ้นที่ไร่แห่งหนึ่งในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในแถบอิสาน งานครั้งนี้ได้เน้นที่บทบาทของผู้หญิงและเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาที่หลากหลาย จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง การถ่ายทอดที่ถูกแบ่งปันให้กับทุก ๆ คน ทั้งหญิง ชาย และเด็กๆ ในท้องถิ่น และให้กับคนภายนอก ซึ่งทำให้ประเด็นสำคัญของ เวิร์คช็อปอยู่ที่การเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติรอบตัว ได้เรียนรู้ ร่วมงาน แบ่งปันประสบการณ์กับพ่อเฒ่าแม่แก่ในหมู่บ้านที่มาสาธาธิตงานหัตกรรมพื้นบ้าน ตลอดจนได้รู้จักและเรียนรู้วิถีดั้งเดิมของชีวิตท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดได้ก่อให้เกิดกระบวนการการทำงานและการแลกเปลี่ยนในเชิงสร้างสรรค์
และเพื่อเป็นการพัฒนาและขยายขอบข่ายและสร้างพื้นที่การร่วมโครงการขึ้นใหม่ โครงการ Womanifesto ในครั้งที่ 4 นี้จึงได้จัดทำในลักษณะของสิ่งตีพิมพ์นานาชาติ ซึ่งเราได้เชิญทั้งผู้ที่เป็นศิลปิน และไม่ใช่ศิลปิน ทั้งหญิงและชาย จากที่ต่าง ๆ ให้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นการรวบรวมผลงานที่อาจเป็นทั้งงานเขียน บทความ รูปภาพ ภายใต้ประเด็นเกี่ยวกับ “การให้กำเนิด/หลังให้กำเนิด” ซึ่งจะได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือในช่วงปลายปี 2546
จากกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ผ่านการพบปะ การจัดนิทรรศการ โครงการแลกเปลี่ยนและการกระจายเผยแพร่ข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะผู้จัดงาน Womanifesto ต้องการที่จะขยายเครือข่ายและรวบรวมความคิดที่น่าสนใจและมีคุณค่าของผู้คนจากที่ต่าง ๆ จำนวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เราอยากเชิญให้ท่านคิดถึงแง่มุมอันหลากหลายเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบกับเราท่าน ๆ อย่างเป็นสากล
ลำดับกิจกรรม
-
พ.ศ. 2551 โครงการศิลปินหญิงนานาชาติในพำนัก
โครงการศิลปินหญิงในพำนักนี้ ก่อตั้งที่ ไร่บุญบันดาล อำเภอ กันทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกศ สนับสนุนโดย กระทรวงวัฒนธรรม
-
พ.ศ. 2548 – 2549: โครงการโนแมนแลนด์
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิ Heinrich Boell Foundation.
-
พ.ศ. 2546: โครงการหนังสือ การให้กำเนิด/หลังให้กำเนิด (Procreation/Postcreation)
สื่อสิ่งพิมพ์ ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และจัดโดย ปรีณัน นานา และ วาช่า นายร์
-
พ.ศ. 2544: เวิร์คช็อปศิลปินหญิงนานาชาติ
จัดขึ้นที่ ไร่บุญบันดาล อำเภอ กันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ จัดโดย ปรีณัน นานา, วาช่า นายร์ , นาโอมิ อูราเบ และ นิตยา เอื้ออารีวรกุล
-
พ.ศ. 2542: นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปินหญิงนานาชาติ ครั้งที่ 2
จัดขึ้นที่ สวนวังสราญรมย์ จัดโดย นิตยา เอื้ออารีวรกุล, พันธินีย์ จำเนียรไวย และ สตูดิโอช้าง
-
พ.ศ. 2540: นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปินหญิงนานาชาติ ครั้งที่ 1
ณ ศูนย์บ้านตึก และ บ้านเจ้าพระยา (มูลนิธิชัยยง ลิ้มทองกุล) จัดโดย นิตยา เอื้ออารีวรกุล, อาจารย์สมพร รอดบุญ, วาช่า นายร์ และ อรรฆ์ ฟองสมุทร
-
พ.ศ. 2538: ประเวณี-ประเพณี (Tradisexion)
ณ ศูนย์บ้านตึก, จังหวัดนนทบุรี จัดโดย ศิลปินผู้ร่วมงาน และ คุณจุมพล อภิสุข (ศูนย์บ้านตึก)
Melancholic Rhapsody — Preparation, 1999 Womanifesto II